การเขียนเชิงวิชาการ
เขียนเชิงวิชาการ
การเขียนรายงานเชิงวิชาการ หมายถึง การนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ สำรวจ รวบรวม หรือวิเคราะห์อย่างระเอียดถี่ถ้วนมีเห็ตผลและหลักฐานที่มาอย่างมีระบบแบบแผนแน่นอน อาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นคณะก็ได้
วิธีจดบันทึก
1.จดบันทึกจากการฟัง
2.จดบันทึกจากการอ่าน
3.จกบันทึกจากประสบการณ์ตรง
หลักสำคัญของการจดบันทึก
1.เก็บข้อมูลให้ถูกต้องตรงความจริง
2.ระบุแหล่งที่มาให้ชัดเจน รวมทั้งบอก วัน เดือน ปี ที่ได้บันทึกไว้ด้วย
3.จดบันทึกอย่างมีระบบให้เป็นระเบียบเดียวกัน
วิธีจดบันทึกจากการฟัง
วิธีจดบันทึกจากการฟังต้องรู้จักเลือกจดประเด็นสำคัญให้ใช้อักษรย่อหรือเครื่องหมายที่ใช่กันทั่งไปเพื่อให้การจดบันทึกไว้ได้อย่างรวดเร็ว
วิธีจดบันทึกจากการอ่าน
วิธีจดบันทึกจากการอ่านมีสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจและปฏิบัติ 3 เรื่องคือ
1. วิธีบันทึกแหล่งที่มา การบอกแหล่งที่มาควรบันทึกให้เป็นระบบเพื่อสะดวกในการนำไปใช้รายงานต่อไป และเป็นมรรยาทสำคัญยิ่งของนักวิชาการที่แสดงความเคารพต่อเจ้าของเดิม ดังตัวอย่าง
หนังสือเล่ม ให้ระบุ
ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์หรือโรงงานพิมพ์ ปีที่พิมพ์ หน้า
2.วิธีบันทึกข้อความ วิธีจดบันทึกที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1.จับสาระสำคัญของข้อความที่อ่านและจดบันทึกโดยใช่ถ้อยคำชองเราเองโดยไม่ต้องต่อเติม
2.ใช้ถ้อยคำบางคำที่สำคัญจากต้อนฉบับ ประสมกับถ้อยคำของเราเองโดยไม่มีการต่อเติม
3.จดข้อความตอนใดตอนหนึ่งจากหนังสือที่อ่านเพื่อใช้ในการอ้างอิงโดยจดให้ตรงต้นฉบับ
4.ทำโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งใน 3 วิธีข้างต้น และแสดงความคิดเห็นหรือข้อสังเก็ตเพื่อเติมโดนระบุไว้ชัดว่าตอนนี้เป็นความคิดของเราเป็นความคิดเสริมและเขียนแยกไว้อีกต่างหากตอนหนึ่ง
3.รูปแบบในการบันทึก ควรจดเพียงด้วนเดียวบนแผ่นกระดาษที่มีขนาดเดียวกัน ควรวางรูปแบบในการจดบันทึกตามลำดับดังนี้ หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย แหล่งที่มาของเอกสาร เลขที่หน้าของข้อความนั้นปรากฏ เนื้อความ
ตัวอย่าง
การทำปุ๋ยหมัก-สูตรวัสดุที่ใช้
ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ "ทำปุ๋ยหมักใช้ได้ใน 32วัน"ไทยรัฐ(27 กรกฎาคม 2524)
7.
สูตรวัสดุที่ใช้ทำปุ๋ยหมักของกรมพัฒนาที่ดิน เศษพืช (ใบไม่ใบหญ้า) เศษฟาง กากอ้อย หรืออื่นๆ 1,000 กิโลกรัม มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม ปุ๋ยแคลเซียมแอมโมเนียไนเตรท 2 กิโลกรัม อะโกรแม็กซ์เซ็ลโลสะแตท (ตัวเชื้อ) 10 กรัม อะโกรแม็กซ์ชนิดเข้มข้น(สารเร่ง) 100 ซี.ซี
วิธีจดบันทึกจากประสบการณ์ตรง
1. ระบุเรื่องที่บันทึก
2. บอกวัน เวลา สถานที่ ให้ถูกต้อง
3. ระบุชื่อผู้เกี่ยวข้อง
4. บอกสภาพของสิ่งที่บันทึกให้ชัดเจน
5. เรียบเรียงตามลำดับเหตุการณ์
6. ถ้ามีข้อสังเกตหรือความคิดเห็นประการใด ควรเรียบเรียงไว้ตอนท้ายทั้งนี้ควรเขียนให้รวบรัดให้รายระเอียดเท่าที่จำเป็น
ขั้นตอนการเขียนรายงานเชิงวิชาการ
ขั้นที่1 เลือกหัวข้อเรื่อง ควรเลือกเรื่องที่ตนสนใจมากที่สุด สะดวกในการค้นคว้า และสามารถทำให้เสร็จในเวลาจำกัด
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตเรื่อง
ขั้นที่ 3 ค้นคว้าและรวบรวมความรู้ อาจทำได้โดยการอ่านจากเอกสาร การไปสังเกตด้วยตนเอง
ขั้นที่ 4 วางโครงเรื่อง โครงเรื่องจะช่วยป้องกันไม่ให้เขียนออกนอกเรื่อง
การวางโครงเรื่องควรทำเป็น 2 ตอนดังนี้
1.ร่างโครงเรื่อง เขียนหัวข้อต่างๆลงไปตามที่ตนต้องการทั้งนี้ยังไม่ต้องเรียงลำดับ
2. กำหนดโครงเรื่อง เมื่อเขียนหัวข้อทั้งหมดแล้วจัดเรียงเรื่องตามลำดับและแก้ไขภาษา
การเพิ่มคำในภาษาไทย
การเพิ่มคำด้วยวิธีการต่างๆในภาษาไทยนั้นเรามีวีธีเพิ่มคำได้หลายประการเช่นคำประสม คำซ้อน คำคู่ คำซ้ำ คำสมาส คำสนธิ คำแผลง ฯลฯ
1. คำขยาย ลักษณะที่แท้ของภาษาไทยนั้น เป็นคำเดี่ยว คำโดด ไม่นิยมคำควบกล้ำ ต่อมาภาษาได้วิวัฒนาการขึ้น มีคำหลายเสียง หลายพยางค์ เลียนแบบภาษาติดต่อคำภาษามากพยางค์ คำไทยเดิมก็เปลี่ยนไป โดนเพิ่มเสียงจากคำเดี่ยว คำโดดขึ้นบ้าง เช่น เพิ่มตัว ร ล ว ขึ้นในภาษา เป็นต้นว่า ปลา แกว่ง คลับคล้ายคลับคลา โครมคราม ปรักปรำ กวาง ขวิด ขวาด ขว้าง ฯลฯ ต่อมาลดเสียงคำหน้าลงให้เสียงสั้น ฟังคล้ายคำลหุในภาษาบาลี หรือภาษามากพยางค์ในภาษาเขมรเช่น ยะยิบ ตะโกตะกูคะครืนคะครึก ชรล่อง ละลิ่ว ละลิบ ฯลฯ ภาษาไทยก็เปลี่ยนรูปจากคำโดด มาเป็นภาษามากพยางค์
2. คำประสม ประกาศสำคัญของคำประสมคือ คำมูล คำตัยตำเดิมในภาษานำมาประสมกันเช้าเป็นคำใหม่มีความหมายพิเศษออกไปอีก ในภาษาไทยมีคำเดิมเป็น
คำโดด | คำประสม |
บ้าน เรือน ฟ้า ม้า ช้าง น้ำ วัว ควาย ไร่ นา ปลา ปู | บ้านเมือง เรือนฝากระดาน ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ ม้าต้น ช้างศึก น้ำพริก วัวถึก ควายป่า ไร่มัน นาปรัง ปลาซิว ปูนา |
คำประสมในภาษาไทยอาจแบ่งได้5 ลักษณะ ตามหลักการวิเคราะห์
(1) เอาคำมูลตั้งแต่สองคำมาประสมกัน
ไฟ -ฟ้า เป็น ไฟฟ้า
ลูก-เสือ เป็น ลูกเสือ (เด็กชายที่ทำหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น)
แม่-น้ำ เป็น แม่น้ำ (ลำน้ำสายใหญ่)
แม่-ทัพ เป็น แม่ทัพ (ผู้มีหน้าที่บังคับบัญชา กองทัพทำการรบ)
หาง-เสือ เป็น หางเสือ (เครื่องบังคับคัดเรือให้แล่นไปในทิศทางที่ต้องการได้)
น้ำ-ขาว เป็น น้ำขาว (น้ำเมาชนิดหนึ่งสีขุ่นขาว ดื่มแล้วเมาเหมือนสุรา)
ตา-ขาว เป็น (ขี้ขลาด)
(2) คำประสมที่เกิดจากคำมูลสองคำ คำแรกได้แก่ นัก ชาว หมอ ชั่ง ความ เครื่อง แม่ ฯลฯและคำนั้นเป็นคำที่มีความหมายพิเศษเฉพาะ
นัก : นักเรียน นักปราชญ์ นักเลง นักกฎหมาย นักมวย นักศึกษา ฯลฯ
ชาว : ชาวนา ชาววัง ชาวไร่ ชาวป่า ชาวเขา ชาวที่ ชาวเมืองฯลฯ
ช่าง : ช่างไม่ ช่างเรือ ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างเสื้อ ฯลฯ
หมอ : หมอควาย หมอฟัน หมอเสน่ห์ หมอผีฯลฯ
ความ : ความดี ความรัก ความงาม ความหมาย ความรู้ ความตายฯลฯ
เครื่อง : เครื่องยนต์ เครื่องบิน เครื่องจักร เครื่องแกง เครื่องปรุง เครื่องขยายเสียง ฯลฯ
แม่ : แม่น้ำ แม่ทัพ แม่งาน แม่เสียง แม่ย่านาง แม่เรือนฯลฯ
(3) คำประสมที่เกิดจากคำสองคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน อาจจะเป็นคำนามหรือคำกิริยาก็ได้ รวมกันแล้วเกิดความหมายพิเศษ เช่น ดูแล ตรวจตรา สั่งสอน บ้านเมือง ตรวจสอบ หอบหิ้ว เก่าแก่ กีดกัน ทรัพย์สิน ชมเชย พักผ่อน พลัดพราก ขบคิด เปิดเผย ควบคุม คลี่คลาย ก่อกู้ ทิ้งขว้าง ฯลฯ
(4) คำประสมจำพวกที่เป็นคำสมาสในภาษาสันสกฤต เช่น อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม โจรกรรม มิตรภาพ พิพิธภัณฑ์ เทพบุตร อุปถัมภ์ อนุชน อติรูปอภิธรรมสุคนธ์ เอกชนมหาบุรุษ ปรภพ ทันตแพทย์ โลกธาตุ ทศทิศ ทศทิศราชธรรมฯลฯ
(5)คำจากบาลีสันสกฤษตที่ไทยเรานำมาใช้มีพระนำหน้า เช่น พระหัตถ์ พระกร พระกรรณ พระพักตร์ พระเนตรพระอุระ พระชิวหา พระดัชนี พระตจะ พระทนต์ พระนลาฏ พระเกศา พระโลมา พระราชสถาน พระภูมิ พระชลเนตรฯลฯ
3.คำซ้อน หมายถึง คำที่เกิดจากการนำเอาคำที่มีความหมายอย่างเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน เรียงกัน
เพื่อให้เกิดความหมายเดิมชัดขึ้นกว่าคำโดดในภาษานับว่าเป็นวิวัฒนาการอย่างหนึ่งของภาษา อาจกล่าวได้ 3ประการ
(1) นำเอาคำของภาษาชาติอื่นมาซ้อนกับคำในภาษาไทยอาจจะไว้ข้างหลังหรือข้างหน้าก็ได้ เช่น นัยน์ตา (บาลี-ไทย) แบบฟอร์ม(ไทย-อังกฤษ)แบบแปลน (ไทย-อังกฤษ) ดั้งจมูก(ไทย-เขมร) กล้าหาญ (ไทย-เขมร) ซื่อสัตย์(ไทย-สันสกฤต) จิตใจ(บาลี-ไทย) พงไพร(ไทย-เขมร) เชี่ยวชาญ (ไทย-เขมร) เกื้อกูล(ไทย-บาลี) ผูกพัน(ไทย-บาลี) ใกล้ชิด(ไทย-เขมร) รากฐาน(ไทย-บาลี)ศึกสงคราม(ไทย-สันสกฤต)ฯลฯ
(2)นำเอาคำโบราญที่เกือบจะไม่มีคนทราบแล้วมารวมกับคำปัจจุบัน เช่น แดดนาย กลิ่นอาย เสื้อแสง ตีรัน ผีสาง หนทาง ลู่ทาง เผาจี่ ปิ้งจี่ คอยท่า รบพุ่ง ไกล่เกลี่ย เสื่อสาด ห่างเหิน วงวาน ว่านเครือ น้ำท่า ฯลฯ
(3) นำเอาคำมารวมกันทำให้เกิดความหมายดีขึ้นอาจจะเข้าอยู่ในลักษณะคำประสมดังกล่าวแล้วก็ได้ เช่น กอบกำ เคร่งครัด เฉิดฉาย ถ่องแท้ เสื่อมโทรม ล้างผลาญ หลักแหลม ผ่องแผ้ว ผุดผาด โต้เถียง ปกป้อง ผลัดเปลี่ยน บุกบั่น ฟันฝ่า ร่าเริง หิวโหย ชื่นชม รบเร้า เชื้อสาย เคร่งขรึม ซมซาน คล่องแคล่ว แคล้วคลาด มาดหมาย หย่าร้าง ขื่นขม มั่งคั่ง สีดส่วนฯลฯ
4.คำคู่ หมายถึงคำที่ใช้คู่กัน ถ้าเป็นคำโดดคำเดียวจะฟังไม่ค่อยเพราะจึงเพิ่มคะให้เสียงดีขึ้น พระยาอนุมานราชธน ราชบัณฑิตทางภาษาศาสตร์ไดกล่าวไว้ในหนังสือนิรุกติศาสตร์ของท่านว่า "คำคู่นั้น เป็นคำซ้ำที่ให้เกิดเสียงไพเราะ มีชื่อว่า อุจจารณวิลาช อาจกล่าวแยกลักษณะได้ 5ประการคือ
(1)คำพูดที่มีความหมายดีขึ้นกว่าคำเดียวโดดๆเช่น กระเซอะกระเซิง กระเจิดกระเจิง กระเง้ากระงอด กะปอดกะแปด กระดุกกระดิก กะโตงกะเตง ตุหรัดตุเหร่ กระฟัดกระเฟียด กระเสือกกระสน กระเหี้ยนกระหือรือ ตุปัดตุป๋อง สะกิดสะเกา พะเน้อพนอ กระตุ้งกระติ้ง สะโอดสะอง พินอบพิเทา พิพักพิพ่วน ผะอืดผะอมฯลฯ
(2) คำพูดที่คำหลังไม่มีความหมายก็จริง แต้เสียงยาวออกไปเพื่อถ่วงดุลกับคำหน้า โดนจะพูดเพียงคำเดียว เสียงจะห้วน จึงเพิ่มเสียงขึ้นคล้ายกับเกิดสร้อยคำ ไพเราะขึ้น เช่น กิน-กินแก็น,กินเก็น,รก-รุกเริ๊ก,ลุก-ลุกเลิ๊ก,นั่ง-นั่งเนิ่ง,ดู-ดูเดอ,ดูแด , ไป-ไปป้อย ,ไปเป็ย, พูด-พูดเพิด, พูดแพด, ว่า-ว่าเว่อ,ว่าแว่,จริง-จริงเจิง,จริงจังฯลฯ
(3) คำคู่ที่สระซ้ำกัน มีความหมายดีขึ้น มีพยางค์มากขึ้น เช่น โกงโก้ , โยงโย่, โทนโท่, ปุกปุย, หลุดลุ่ย, โดนโด่, จนจู๋, แหงแก๋, หยอกหยอย,กรอกกร่อย ฯลฯ
(4)คำคู่ที่เป็นไปตามระดับเสียงของสระหน้สและสระหลัง แต่ใช้พยัญชนะเดียวกันอยู่ เช่น เกอะแกะ กล้องแกล้ง ก้างก่าย เมามาย ยั่วเย้า ยักย้าย อุ้ยอ้าย โอ้เอ้ โตงเตง โปกเปก กลับกลาย วางวาย ไล่เลี่ย ไกล่เกลี่ย โอนเอน อ่อนแอ ยั้วเยี้ย นัวเนียฯลฯ
(5)ในกาพย์กลอน เป็นคำคู่ที่เกิดจากการนำเอาเสียงพยัญชนะต้นของพยางค์หลังมาซ้ำไว้ข้างหน้าพยางค์นั้นแต่ยึดเสียงให้เป็นสระอาเพื่อความไพเราะในการออกเสียงเรียกว่าเสียงเลื่อน เช่น พิมพิไล-พิมพิราลัย, สุมาลย์-สุมามาลย์ ยุพา-ยุพาพาลฯลฯ
5. คำซ้ำ หมายถึงคำที่เกิดจากคะคะเดียวกัน แต่ออกเสียงซ้ำกับคะหน้าแยกได้ 2 อย่าง
(1)ใช้คำเหมือนกันสองคำ นิยมใช้ในการแต่งกาพย์กลอน กาพย์กลอนไม่นิยมใช้ไม้ยมก เช่น ไม่ควรควรหรือมาร้างนิราลัย แต่เดินเดินเพลินชมพนมมาศ รื่นรื่นชื่นกลิ่นพี่จำได้ ฯลฯ
(2)นิยมใช้ไม่ยมก นิยมใช้ในการเขียนความเรียงทั่วไป ซ้ำสองพยางค์บ้าง ซ้ำสามพยางค์บ้าง เช่น ดำๆ ดีๆ งามๆ ค่ำๆคืนๆ ทีละน้อยๆ แต่ละปีๆ แต่ละคนๆ ทุกๆวัน ทุกๆเดือน เป็นเดือนๆ ฯลฯ