การพูดต่อประชุมชน [ 2 ]

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-Thai M.5_2-] [-PorTFoRiO-] [-WeBBoArD-] [-WeBMaSTeR-]

การวิเคราะห์กลุ่มคำ

           กลุ่มคำในภาษาไทยเรานั้นประกอบขึ้นด้วยคำหลาย ๆคำ กลุ่มหนึ่งมีคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป

แล้วเราตั้งชื่อกลุ่มคำนั้นว่า เป็น  วลี    กลุ่มคำเหล่านี้ยังไม่มีส่วนประกอบครบที่จะเป็นประโยค

เช่น  มีแต่นามบ้าง  มีกริยาบ้าง  มีส่วนขยายบ้าง  เราเรียกชื่อตามชนิดของคำในภาษาไทยว่า

กลุ่มนาม  กลุ่มสรรพนาม  กลุ่มกริยา  กลุ่มวิเศษณ์  กลุ่มบุพบท  กลุ่มสันธาน  กลุ่มอุทาน  ถ้าคำ

หน้ากลุ่มคำเป็นคำชนิดใดเราก็เรียกตามชื่อคำข้างหน้านั้น  เช่นกลุ่มคำที่ว่า  นายน้อยศาลีเกษตร

นายน้อยเป็นนาม  เราก็เรียกว่า  กลุ่มนามวลีบินฉวัดเฉวียน  คำว่าบินเป็นกริยา  ฉะนั้นกลุ่มคำนี้จึงมีชื่อว่า  กริยาวลีหมดจดงดงาม  คำว่า  " หมด "  เป็นคำวิเศษณ์  ฉะนั้นกลุ่มคำนี้จึงเป็น

วิเศษณ์วลี   ฯลฯ 

            เมื่อเราวิเคราะห์หมู่คำแล้ว  กลุ่มคำนั้นเป็นเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคเท่านั้น  และ

เราเรียกแปลกแตกต่างกันออกไป

            นามวลี    หมายถึง   กลุ่มคำที่มีคำนามอยู่ข้างหน้ากลุ่มคำนั้น  เช่น  เสือลายพาดกลอน,

เรือชะล่า,  ซอสามสาย,   ว่าวปักเป้า,   ขนุนสำมะลอ,   พระธาตุดอยสุเทพ,   หลวงพ่อพุทธโสธร,

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช,  กรุงเทพมหานคร,  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,  พระราชวังบางประอิน,

สวนจตุจักร,  บึงบอระเพ็ด  ฯลฯ

            สรรพนามวลี  หมายถึง  กลุ่มคำที่มีคำสรรพนามอยู่ข้างหน้ากลุ่มคำนั้น  เช่น  เราทั้งหลาย

ใต้เท้ากรุณา,  ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท,  มหาบพิตรราชสมภารเจ้า,  พระคุณเจ้า,  อาตมาภาพ,

เกล้ากระผม,  ฝ่าพระบาท,  กระหม่อมฉัน  ฯลฯ 

             กริยาวลี  หมายถึง กลุ่มคำที่มีคำกริยาอยู่ข้างหน้ากลุ่มคำนั้น เช่น  เดินกระฟัดกระเฟียด

ไปแต่เช้าตรู่,  นอนนิ่งเหมือนลูกฟัก,  รอจนแล้วจนรอด,  ตกได้ตลอดทั้งวัน,  ขันเพราะนักหนา,

วิ่งไปทางโน้นทางนี้,  มองทางตลอดวัน,  กู่ไม่กับ,  ฟังไม่ได้เรื่อง  ฯลฯ

             วิเศษณ์วลี   หมายถึง   กลุ่มคำที่มีคำวิเศษณ์อยู่ข้างหน้าหมู่คำนั้น  เช่น  แคล่วคล่อง

ว่องไว,  อร่ามงามหรู,  แช่มชื่นรื่นเริง,  แพรวพราววาววับ,  รวดเร็วเหลือประมาณ, ถมึงทึง ฯลฯ

             บุพบทวลี  หมายถึง  กลุ่มคำที่มีคำบุพบทอยู่ข้างหน้าหมู่คำนั้น เช่น  ใต้ร่มกาสาวพัสตร์

ข้าแต่พระคุณเจ้า,  อันว่าเทศกาลตรุษ,  ใกล้ชายคาเรือน,  ดูราเด็กน้อย,  ตามแต่กำลังวังชา,

จากบ้านไผ่ถึงอุดรธานี,   บนกลีบกุหลาบ,  โดยความวิริยะอุตสาหะ,  นอกตำรา,  ในคาบสมุทร-

อินโดจีน,  ด้วยสติปัญญาของตนเอง,  ดูกรสงฆ์ทั้งหลาย,  ริมเขื่อนสิริกิติ์,  บนหลังราชสีห์ ฯลฯ

             สันธานวลี   หมายถึง  กลุ่มคำที่มีคำสันธานอยู่ข้างหน้าหมู่คำนั้น  เช่น  เพราะฉะนั้น,

แต่ถึงอย่างไรก็ดี,  แต่ก็,  และก็,  ถ้าเช่นนั้นก็,  เพราะฉะนั้นจึง,  หรือไม่ก็,  เพราะว่า  ฯลฯ

             อุทานวลี   หมายถึง   หมู่คำที่มีอุทานนำหน้า  เช่น  โถน่าสงสาร,  อ้าพระทูลกระหม่อม-

แก้ว,  โอ้ลูกแม่,  ว้าทุเรศทุรังกา,  พิโธ่พิถัง,  อนิจจังอนัตตา,  ตาเถน,  อูยเย็นชะมัด,  ว้ายคุณพระ,

แหมไม่น่าเลย,  โอ้ยตายแล้ว,  อ้าวยังไงกัน  ฯลฯ

ความแตกต่างระหว่างคำประสมกับนามวลี

         คำประสม       เป็นคำที่ตั้งขึ้นใหม่  เป็นคำพิเศษเฉพาะ  เกิดจากการนำเอาคำมูลมาประสม

กันขึ้น  เช่น  ลูกเสือ (คน)  หางเสือ  (เรือ)  แสงอาทิตย์  (งู)  ชาววัง   หมอความ   เครื่องยนต์ 

คนใช้   บ้านไร่  ฯลฯ

         ส่วนวลี   คือหมู่คำที่ไม่ครบองค์ที่จะเป็นประโยค  มีคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป  มิได้ตั้งเป็นคำใหม่ขึ้นหรือไม่มีความพิเศษอย่างไร  เช่น  นายอำเภอมหาราช  อัครสาวกเบื้องขวา  มหาอุบาสิกา-

วิสาขา  มหาดเล็กรักษาพระองค์   ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง  แสงเดือนเพ็ญ ผ่องกระจ่าง

เกสรดอกรัง  ธรรมชาติรอบข้าง  จางซีดขมุกขมัว  ฯลฯ

วลีกับประโยค

              วลี  คือ  กลุ่มคำที่ยังไม่ได้ความหมายบริบูรณ์  มีตัวอย่างดังกล่าวแล้ว  ส่วนประโยค  คือ

ข้อความที่ได้ความแล้วว่าใคร  ทำอะไร   หรือใคร  ทำอะไร   แก่ใคร  คำตั้งแต่สองคำขึ้นไป  เมื่อ

มีบทประธาน  และ  บทแสดง  คือ  กริยา  เช่น  นกบิน      นก   เป็นประธาน   บิน   เป็นกริยา

                                                                     คนเดิน     คน   เป็นประธาน   เดิน  เป็นกริยา

                                                                     ช้างวิ่ง      ช้าง  เป็นประธาน   วิ่ง    เป็นกริยา

ถ้ามีบทกรรมประกอบท้ายประโยคด้วย   ยิ่งได้ความชัด   สมบูรณ์ขึ้นไปอีก

เช่น    ผีเสื้อ   ดูด    น้ำหวาน      ผีเสื้อ        เป็นประธาน    ดูด    เป็นกริยา   น้ำหวาน   เป็นกรรม

           คน    กิน    ข้าว              คน          เป็นประธาน     กิน   เป็นกริยา       ข้าว      เป็นกรรม

          แม่     เลี้ยง    ลูก             แม่          เป็นประธาน     เลี้ยง  เป็นกริยา     ลูก       เป็นกรรม