ความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างภาษาไทยกับภาษาอื่น
ความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่างภาษาไทยกับภาษาอื่น
ภาษาไทยเกี่ยวข้องกับภาษาอื่น ทางศาสนาบ้างทางพิธีกรรมสำคัญทางบ้านเมืองบ้าง ทางความสำพันธ์ใกล้ชิดกันบ้าง ทางภูมิศาสตร์ หรือทางประวัติศาสตร์บ้าง ภาษาไทยก็รับภาษาต่างๆนั้น เข้ามานานๆเข้า ก็กลายเป็นภาษาไทยที่คนเข้าใจเหมือนภาษาแท้ของตนไป จะขอยกตัวอย่างภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับการศาสนา ภาษาเขมรจากความสัมพันธ์ใกล้ชิด ภาษาอังกฤษ เกี่ยวข้องกันเมื่อมีการติดต่อค้าขายกัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่สำคัญของโลกภาษาหนึ่ง
1.ภาษาไทยแตกต่างจากภาษาบาลีสันสกฤต
1) ภาษาบาลีภาษาสันสกฤต เป็นภาษที่มีวิภัตติ์ ปัจจัยรูปคำจะเปลี่ยนไปตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ตายตัว เพื่อบอกบุรุษ เพศ พจน์ มาลา กาล วาจก ส่วนภาษาไทยไม่มีกฏเกณฑ์อย่างนั้น เมื่อจะบอกสิ่งใดพิเศษออกไปก็เติมคำเข้ามาประกอบด้านหลัง จะวางถ้อยคำที่ผิดไม่ได้ ถ้าวางถ้อยคำไม่ถูกตำแหน่งแห่งที่ความหมายของภาษาไทยจะเปลี่ยนความหมายไป ส่วนภาษาบาลีสันสกฤตอาศัยสังเกตหน้าที่ของคำที่วิภัตติ์ ปัจจัยเป็นหลัก
2)ภาษาสันสกฤตเป็นภาษามากพยางค์ เป็นภาษาติดต่อกันยาว ส่วนภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด แม้บ้างคำจะมีรูปร่างเป็นคำคู่ คำซ้ำ คำซ้อน ก็ยังพอแยกออกได้ว่ามาจากคำโดด เช่น นก ม้า ปลา คน ลิง ฟ้า ฯลฯ ส่วนภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษามากพยาวค์ แม้ว่าเมื่อเรานำเอาแต่เฉพาะต้นศัพท์มาใช้ก็ตาม พยางค์ก็มากกว่า เมื่อมาถึงภาษาไทยเราต้องคิดเครื่องหมายยามักการ เครื่องหมายการันต์ เข้าประกอบเพื่อให้เข้ากับเสียงภาษาไทยได้ เช่น สกุณ อัศดร มัจฉา นระ วานร อัมพร ฯลฯ
3) ภาษาบาลีสันสกฤตวาง ประธาน กรรม กริยา ไม่เหมือนกับประโยคภาษาไทย ที่วางประธาน กริยา และกรรมตามลำดับกรรม จะเห็นได้ชัดจากคำขอศีล 5 ที่เราได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า
"มยํ ภนฺเต วิสุ วิสุ รกฺขณคฺถาย ติ สรเณน สห ปญจ ลีลานิ ยาจาม"
2 1 10 9 8 7 6 5 4 3
คำยาจาม เป็นกริยาสำคัญของประโยคจะอยู่ท้ายประโยค ส่วนคำประกอบคำอื่นจะอยู่ข้างหน้าประโยคขึ้นไปอีก
คำแปลเป็นไทยตามลำดับหมายเลข
ภนฺเต ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มยํ อันว่าเราทั้งหลาย ยาจาม จะขอ ลีลานิ ซึ่งศีลทั้งหลาย
1 2 3 4
ปัญฺจ ห้าประการ สห กับ สรเณน ด้วนสวรณะ ติ 3ประการ รกฺขณตฺถาย เพื่อประโยชน์แก่การรักษา วิสุ วิสุ เป็นข้อๆ
4)ภาษาบาลีสันสกฤตมีคำขยายอยู่ข้างหน้าคำที่ถูกขยาย เช่น เอโก สิงฺคิลสกุโณ แปลว่า อันว่านกขมิ้นตัวหนึ่ง เสตํ กุญชรํ แปลว่า ซึ่งช้างเผือกเชือกหนึ่ง ส่วนภาษาไทยนั้นคำที่ขยายจะอยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น ใบไม้เขียว มะม่วงสุก ฯลฯ
5)คำไทยเป็นคำที่สำเร็จรูป ความหมายไปในตัวทุกคำ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงส่ววนต่างๆ ของคำ ส่วนภาษาบาลีสันสกฤตจะต้องเปลี่ยนรูปศัพท์ คำกริยา คือการลงวิภัตติ์ดังได้กล่าวมาแล้ว
6)ภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาไวยากรณ์ ต้องเปลี่ยนรูปคำไปตามข้อบังคับ เช่นคอยเปลี่ยนรูปคำเพื่อบอกบุรุษ เพศ พจน์ การก มาลา กาล วาจก ส่วนภาษาไทยเป็นภาษาแห่งความเข้าใจพูดไปหรือขียนไปก็เข้าใจตามไปได้ ไม่ต้องย้อนคำไปมา บางทีเราก็ละคำพูดไว้ยาวๆ ก็มี
7)ภาษาบาลีสันสกฤตไม่มีระเบียบการใช้ราชาศัพท์ มีแต่บทอาลปนะที่ยกขึ้นมากล่าวเท่านั้น ส่วนภาษาไทยมีการใช้คำราชาศัพท์เป็นระเบียบพิเศษจัดถ้อยคำสำหรับบุคคลถึง 5 ประเภท ได้แก่ คำของพระเจ้าแผ่นดิน คำของพระบรมวงศานุวงศ์ คำของพระสงฆ์ คำของขุขนางข้าราชการและคำของคนสุภาพทั่วไป
8)ภาษาบาลี-สันสกฤตมีอยู่เพียง 3 พวก ได้แก่ นาม กริยา และอัพยยศัพท์ ส่วนภาษาไทยมีการจำแนกถ้อยคำออกเป็น 7 พวก แบบเดียวกับภาษาอังกฤต มี นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ บุพบท สันธาน และอุทาน
9)ภาษาบาลีและสันสกฤตไม่ใช่รูปวรรณยุกต์และเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษาบาลีว่า "มนุสฺสสฺ เส เม สีสํ หตฺถปาทา จ สิงฺคิล
ยาหุ เสฏฺฐา มนุสฺ เสสุ สา เม ปญฺญา น วิชฺชตีจิ"
ภาษาไทยแปลความเดียวกัน
"ดูก่อนนกขมิ้น ศีรษะมือและเท้าของเราเหมือนของมนุษย์ก็จริง แต่ปัญหาที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าประเสริฐสุดในพวกมนุษย์นั้น ของเราไม่มี"
10)ภาษาบาลีสันสกฤตนั้นเวลาจะใช้เข้าประโยคต้องลงวิภัตติ์เสมอ จะใช้ต้นศัพท์ไม่ได้ ส่วน ภาษาไทยนั้นจะนำต้นคำศัพท์มาใช้ คำเหล่านี้ไม่ต้องลงวิภัตติ์ ปัจจัยแต่อย่างใดก็ได้ เหมือนกับว่าไทยราเอาคำดิบในภาษาสันสกฤตมาใช้ เช่นพฤษภา เศรษฐี โลมา ฯลฯ
2.ภาษาไทยแตกต่างจากภาษาเขมร
1) ภาษาเขมมรเป็นภาษาติดต่อคำ มีมากพยางค์ เช่น อัญขยม (ฉัน) ขยล (ลม) สวา (ลิง) ฯลฯ ส่วนภาษาไทยเป็นคำโดด คือคำพยางค์เดียว เช่นฟ้า ม้า ผี นก หนู แมว
2) ภาษาเขมนเป็นคำควบกล้ำ มีตัว ล ร ว เวลาออกเสียงจะปรากฏเสียงรัวควบกล้ำ เช่น ขลาด (กลัว) เจริญ(ดีงาม) ตรวจ(ดู) เชวง(ขวา) ฯลฯ คำไทยเดิมไม่มีคำควบกล้ำ แต่ภายหลังจึงนิยมตามไปด้วย
3)คำเขมรมักใช้ จ ญ ร ล ส เป็นตัวสะกด
จ สะกด เช่น สำเร็จ, สำรวจ,อำนาจ,ตำรวจ
ญ สะกด เช่น เชิญ,เจริญ,หาญ,ผลาญ
ร สะกด เช่น ควร,ประยูร,เหิร,เดิร
ล สะกด เช่น ยล,ถวิล,ถกล,ตำบล
ส สะกด เช่น จรัส,ตรัส
ส่วนภาษาไทยนั้น ถ้าแม่กด จะใช้ ด สะกดอย่างเดียว เช่น ลัด มัด มด
ถ้าแม่กน จะใช้ น สะกดอย่างเดียว เช่น กิน นอน หอน
4)คำเขมรจะมีคำคล้ายคำอุปสรรคนำหน้า เช่น มีบังนำหน้า ในคำ บังคม บังคับ บังเกิด มีคำว่าบันนำหน้า เช่น บันโดย บันดาล บันลือ ฯลฯ
5)คำเขมรนิยมคำแผลง เช่น ขดาน-กระดาน, ขโดง-กระโดง, ขจอก-กระจอก , ประทม-บรรทม ฯลฯ
6)คำเขมรที่เป็นคำโดด มีอยู่ในภาษาไทยมากจนคิดว่าเป็นคำไทย มักจะปรากฏในคำคู่ เช่น ยกเลิก ,ย่างเดิน,ดาวประกาย ฯลฯ
7)คำภาษาเขมรสามัญกลายมาเป็นคำราชาศัพท์ในภาษาไทย เช่นเขนย (หมอน) ,ขนอง(หลัง) ,บรรทม(นอน) ฯลฯ
3.ภาษาไทยแตกต่างจากภาษาอังกฤษ
1)ภาษาอังกฤษเป็นภาษาติดต่อคำ มีมากพยางค์ เช่น Strong, body, many ฯลฯ ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
2)ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไวยากรณ์ มีกำหนดกฎเกณฑ์ตายตัว ภาษาไทยเป็นภาษาแห่งความเข้าใจ เช่น I see a butterfly.
3)ภาษาอังกฤษจะมีคำนำหน้านามที่เรียกว่า Article มีคำ a an the นำหน้า เช่น a book a pencil the pot ฯลฯ ภาษาไทยไม่มีคำนำหน้านาม
4)ภาษาอังกฤษนั้นจะมีคำขยายนามอยู่ข้างหน้า เช่น The wide river (แม่น้ำกว้าง a big horse (ม้าใหญ่) ฯลฯ ส่วนภาษาไทยคำขยายอยู่ข้างหลังเสมอ
5)ภาษาอังกฤษมีการเปลี่ยนรูปร่างคำคล้ายกับวิภัตติ์ ในภาษาสันสกฤตมีการเติม s เพื่อแสดงว่าเป็นพหูพจน์ เช่น books ,windows,hens ฯลฯ
มีคำแสดงเพศแปลกแตกต่างกัน เช่น Tiger - titigress: king - queen
ถ้าเป็นคำกริยามีการเติม s หรือ es ลงท้าย เพื่อแสดงว่าเป็นกริยาของเอกพจน์ บุรุษที่ 3 เช่น
A man comes from the maket.
วิภัตติ์
ความหมายของวิภัตติ์
วิภัตติ์หมายถึง การเปลี่ยนแปลงท้ายนามศัพท์ หรือท้ายกริยาศัพท์ในภาษาบาลีสันสกฤต นามศัพท์ที่เปลี่ยนวิภัตติ์แล้ว บอกให้เราทราบถึงบุรุษ เพศ พจน์ การก ส่วนกริยาสัพท์ที่เปลียนวิภัตติ์แล้วบอกให้เราทราบถึง มาลา กาล วาจก คำนามคำกริยาในประโยคภาษาบาลีสันสกฤตนั้น เมื่อลงวิภัตติ์แล้วจะทราบหน้าที่ของคำนั้นในประโยคได้ เพราะภาษาบาลีสันสกฤตนั้นเป็ยภาษาไวยากรณ์ วางบทแบบวิภัตติ์ไว้ตายตวแล้ว ถ้าลงวิภัตติ์อย่างนั้นต้องแปลว่าอย่างนั้น จะแปลเป็นอย่างอื่นมิได้ แต่คำภาษาบาลีนั้นไม่ได้ลงวิภัตติ์ทุกคำลงวิภัตติ์ได้แต่คำนามและกริยาเท่านั้น
วิภัตติ์นามคือการแปลงท้ายคำนามตามการันต์ เช
น อะการันต์ ฯลฯ สัพท์ที่ลงท้ายอะการันต์ เช่น กุมาร เทว ปุตต คช ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นศัพท์ เวลาแจกการันต์จะแจกเหมือนกัน การแปลวิภัตติ์ก็จะแปลความป็นแบบเดียวกันขอยกตัวอย่าง กุมาร สัพท์ ปุลลิงค์ (เพศชาย) อะการันต์ เมื่อวางวิภัตติ์แล้วจะแปลความแตกต่างกันแล้วแต่ชื่อวิภัตติ์
กุมารศัพท์(เด็กชาย) อะการันต์
ชื่อวิภัตติ์ ชื่อการก หน้าที่ เอกพจน์ พหูพจ์ คำแปล
ปฐมาวิภัตติ์ กรรตุการก ประธาน กุมาโร กุมารา อันว่า อันว่าทั้งหลาย(
ทุติยาวิภัตติ์ กรรมการก กรรม กุมารํ กุมาเร ซึ่ง สู่ ยัง สิ้น
ตติยาวิภัตติ์ กรรมการก ผู้ช่วนกระทำ กุมาเรน กุมาเรหิ ด้วย โดย อัน ตาม
จตุตถีวิภัตติ์ สัมปทานการก ผู้รับรองการกระทำ กุมารลฺส กุมารานํ แก่ เพื่อ ต่อ
ปัญจมีวิภัตติ์ อปาทาการก ต้นเหตุทำ กุมารมฺหา กุมาเรหิ แต่ จาก กว่า เหตุ
อัฎฐถีวิภัตติ์ สามิการก เจ้าของ กุมาลฺส กุมารานํ แห่ง ของ เมื่อ
สัตตมีวิภัตติ์ อาธารการก ผู้รับรองผู้ทำ กุมาเร กุมาเรสุ ใน บน ใกล้ ที่ ครั้นเมื่อ
กุมารสฺมี
อาลปนะ อาลปนะ อุทาน กุมาร กุมารา แน่ะ ดูกร ข้าแต่
ตัวอย่าง เอโก กุมาโร สหายสฺส รเถน นครํ คจฺฉฺติ (แปลตามลำดับหมายเลข)
2 1 6 5 4 3
อันว่าเด็กชาย คนหนึ่ง ย่อมไป สู่นคร ด้วยรถ ของเพื่อน
1 2 3 4 5 6
วิภัตติ์กริยา จงจำไว้เสมอว่า โดยปกติกริยาของภาษาบาลี และสันสกฤตนั้นจะอยู่ท้ายสุดประโยคเสมอ ถ้าไม่อยู่สุดประโยคก็ต้องสังเกต วิภัตติ์ของกริยานั้น
ใช้กับบุรุษ เอกพจน์ พหูพจน์ แปลว่า
ประถมบุรุษ -ติ -อนฺติ เขา-
มัธยมบุรุษ -สิ -ถ ท่าน-
อุตตมบุรุษ -มิ -ม ฉัน-
ตัวอย่าง วท วัตตมานากาล (กาลปัจจุบัน แปลว่า ย่อม อยู่ จะ)
โส วทติ เต วทนติ เขาย่อมกล่าว , - เขาทั้งหลายย่อมพูด
อหํ วาทมิ มยํ วทาม ฉันย่อมกล่าว -เราย่อมกล่าว
เอโก ปุริโส วจนํ วทติ แปลว่า อันว่าผู้ชายผู้หนึ่งย่อมล่าวด้วยถ้อยคำ
กึ วจนํ วทาสิ แปลว่า ท่านจะกล่าวซึ่งถ้อยคำหรือ
มยํ สุภาษิตํ วทาม แปลว่า เราย่อมกล่าวซึ่งสุภาษิต
วิภัตติ์ในภาษาไทย ไทยนิยมนำเอาแต่สัพท์เฉยๆ แล้วเรานำเอาคำอื่นมาประกอบเองนานๆ ครั้นจึงภาษาบาลีสันสกฤตที่มีวิภัตติ์ติดเข้ามาในภาษาไทย เช่น พุทโธ พเนจร ฯลฯ
คำพุทโธ มีวิภัตติ์ โอ :พเนจร มีวิภัตติ์ เอ
อุปสรรค พจนานุกรรมอธิบายว่า คำที่เติมข้างหน้าคำอื่นเพื่อให้มีความหมายต่างออกไปจากเดิม เช่น
อภิ - มหาอำนาจ เป็น อภิมหาอำนาจ
อภิ - บาล เป็น อภิบาล
อุป - ทูต เป็น อุปทูต
คำอุปสรรคที่ใช้ในภาษาไทยมีอยู่ 20 คำ
นิ ทุ ป ปร ปฎิ ปรา ปริ วิ สํ ส สุ อติ อธิ อนุ อภิ อว อุ อุป
นิ แปลว่า ลง ไม่มี ออก แผลงเป็น นฤ นิร เนร ได้
เช่น นิสัช (นั่งลง) นิรทุกข์ (ไม่มีทุกข์) นิเทศ (แสดงออก) ทิรเทศ
เนรเทศ (ไม่มีที่อยู่ , ถูกชับไล่)
นิยม (กำหนดลง) นินาท (เสียงดังออก , ดังกีกก้อง) ฯ ล ฯ
ทุ แปลงว่า ชั่ว ยาก ไกล แผลง ป็น ทร ทุร โทร ก็ได้
เช่น ทุคติ (คิตชั่ว) ทุคตะ (ยากแค้น) ทุจริต (ประพฤติชั่ว) ทุรัถยา (ทางไกล)
ทรชน (คนเลว) โทรเลข (ขีดเขียนไกล) โทรศัพท์ (เสียงไกล) ฯ ล ฯ
ป,ปร แปลงว่า ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก
เช่น ปัญญา (รู้ทั่ว) )ปรภพ (ภพหน้า) ประมาท (เมาทั่ว,เลินเล่อ) ประมาณฯลฯ
ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ตอบ ทวน กลับความ
เช่น ปฎิทิน(เฉพาะวัน) ปฏิวัติ(การหมุนกลับ) ปฏิปักษ์(ฝ่ายตรงกันข้าม) ปฏิยุทธ(รบตอบ)
ฯลฯ
ปรา แปลว่า กลับ(ตรงข้าม)
เช่น ปราชัย(ชนะกลับ-แพ้) ปราภพ(ความไม่เกิด ความฉิบหาย) ปราชิด (แพ้) ฯลฯ
ปริ แปลว่า รอบ ทั่ว
เช่น ปรินิพพาน (ความดับรอบ หมายถึงการดับกิเลส) ปริฑล(วงรอบ)
ปริยาย(การกล่าวออ้มค้อม) บริสุทธิ์(สะอาดรอบ)ฯลฯ
วิ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง กลับความ
เช่น วิรุฬห์ (งอกงามยิ่ง งอกงานวิเศษ) วิสุทธ์(สะอาดวิฌศษ) วิวัฒน์(เจริญวิเศษ)
วิจักษ์ (รู้แจ้ง) วิจิตร(งอกงามยิ่ง งดงามยิ่ง)
สํ แปลว่า พร้อม ร่วม กับ
เช่น สังเวช (ร่วมสลด) สังโยค(ประกอบรวม-ตัวสะกด) สังสนทนา(สนทนาหารือกัน)
สังคายนา(การซักซ้อม การสวดเป็นแบบเดียวกัน)ฯลฯ
ส แปลว่า ร่วม
เช่น สพรหทจารี (ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน) สกรรมกริยา(กริยาที่มีกรรมมาร่วมด้วย)
สกุล(ผู้ร่วมวงศ์วาน)ฯลฯ
สฺ แปลว่า ดี งาม ง่าย
เช่น สุคนธ์ (กลิ่นดี,กลิ่นหอม) สุจริต(ประพฤติดี-สวรรค์) สุทัศน์(สวยงาม) ฯลฯ
อติ แปลว่า ยิ่ง มาก พิเศษ ล่วง ผ่าน
เช่น อติรูป(รูปงามยิ่ง) อติชาติ(ยิ่งกว่า เผ่าพงศ์) อดิเรก(มากกว่าหนึ่ง-อดิเรก งานพเศษที่ทำ
ขึ้นเพื่อความเพลิดเพลิน)ฯลฯ
อธิ แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ ทับ
เช่น อธิราช(ราชาผู้เป็นใหญ่) อธิศีล(ศีลอย่างยิ่ง อย่างอุกฤษฏ์) อธิบดี(นายผู้เป็นใหญ่)ฯลฯ
อนุ แปลว่า น้อย ภายหลัง ตาม
เช่น อนุภรรยา(ภริยาผู้น้อย,ภรรยาน้อย) อนุชน(ชนที่เกิดภายหลัง)
อนุกรม(ตามลำดับระเบียบ)ฯลฯ
อป แปลว่า ปราศ หลีก ไม่
เช่น อปยศ(ปราศจากยศ) อปมงคล(ปราศจากมงคล) อปภาคย์(ปราศจากโชค)ฯลฯ
อภิ แปลว่า ยิ่ง ใหญ่ เฉพาะ ข้างหน้า เหนือ
เช่น อภิชาตบุตร (บุตรที่ยิ่งกว่าตระกูล,ยิ่งกว่าพ่อแม่) อภิธรรม
(ธรรมที่ยิ่ง คือพระปรมัตถธรรม)ฯลฯ
อว หรือโอ แปลว่า ลง คำ
เช่น อวตาร (การลงมาเกิด) อวชาตบุตร(บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา)
โอวาท(คำกล่าวลงเพื่อสั่งสอน)ฯลฯ
อา แปลว่า ทั่ว ยิ่ง เจริญ กลับความ
เช่น อาเทศ (การชี้แจงทั่ว คำชี้แจง คำบอกเล่า) อาคมน์(ไปตรงข้าม มา)
อาคันตุกะ(ผู้มาหา แขก)ฯลฯ
อุ แปลว่า ขึ้น นอก
เช่น อุทัย (การขึ้น การโผล่ขึ้นของดวงอาทิตย์) อุเทศ(การยกขึ้นชี้แจง)
อุทธรณ์ (การขอร้องให้รื้อฟื้นขึ้น)ฯลฯ
อุป แปลว่า เข้าไปใกล้ หมั่น รอง
เช่น อุปราช(เข้าไปใกล้ความเป็นพระราชา ,รองพระราชา) อุปนายก(รองนายก)
อุปถัมภ์(เข้าไปค้ำจุน)ฯลฯ
นิบาต ได้แก่ภาษาบาลีสันสกฤตพวกหนึ่งในอัพยยศัพท์ ใช้อยู่ระหว่างศัพท์อื่นๆ ระหว่างนามศัพท์บ้าง กริยาศัพท์บ้าง เพื่อบอกคำอาลปนะ(อุทาน) สถานที่ปริเฉท อุปไมย ความถาม ปฎิเสธ เป็นต้น คำนิบาตไม่ต้องลงวิภัตติ์คงรูปอยู่เรื่อยไป เช่น ภนฺเต (ข้าแต่ผู้เจริญ) ปาโต(แต่เช้า) อนฺโต(ภายนอก)ฯลฯ
ปัจจัย ในพจนานุกรมว่า "ส่วนเติมท้ายศัพท์เพื่อแสดงความหมาย ในกาแจกวิภัตติ์บ้าง ถ้าลงท้ายธาตุ (ต้นศัพท์ของกริยา) เป็นเครื่องหมมายของกริยาบ้างปัจจัยต่างๆ นั้นนักปราชญ์ทางภาษาบาลีสันสกฤตได้จัดไว้เป็นหมวดหมู่ได้แก่ กิตปัจจัย กิจปัจจย กิตกิจปัจจัย
กิตปัจจัย แต่งนามขึ้นเพื่อใช้ความว่า ผู้ทำ มีการลง กฺวิ ปัจจัย ณี ปัจจัย ณวฺ ปัจจัย รู ปัจจัย ตฺปัจจัย ปัจจัยพวกนี้ในภาษาไทยมักแปลว่า ผู้
กวิ ปัจจัย เมื่อลงท้านกริยา ซึ่งเรียกว่าท้ายธาตุ ต้องลบกฺวิ และลบตัวท้ายของธาตุ แปลว่าผู้
เช่น อุร -ค (ไป) เป็น อุรุค แปลว่า ผู้ไปด้วยอกคืองู
ภุช - ค (ไป) เป็น ภุชค แปลว่า ผู้ไปด้วยขนด คือ พญานาค
ณวุ ปัจจัย เปลี่ยนเป็นอก แปลว่าผู้
เช่น ยาจฺ (ขอ) เป็น ยาจก แปลว่า ผู้ขอ
ทา (ให้) เป็น ทายก แปลว่า ผู้ให้
รู ปัจจัย เมื่อประกอบธาตุ ให้ลบ ร ทิ้ง คง อู ไว้ แปลว่า ผู้โดยปกติ
เช่น ญา (รู้) เป็น ญ เป็น สพฺพญญู แปลว่าผู้รู้โดยปกติ
ภิกษุ (ขอ) เป็น ภิกฺขู ภิกกฺขุ แปลว่า ผู้ขอโดยปกติ
ในกาศึกษาเรื่องปัจจัยในภาษาบาลีสันสกฤต ควรจะทราต้นธาตุไว้เพื่อเป็นแนวทางให้เกิดการวินิจจัยศัพท์นั้นได้ว่า จะเป็นพวกอุปสรรคหรือปัจจัย อุปสรรคจะมี 20 คำ ดังกล่าวแล้ว ส่วนปัจจัยนั้นจะเกิดมาจากต้นธาตุหรือกริยา