ธรรมชาติของภาษาและลักษณะของภาษาไทย

[-HoMe-] [-Thai M.5-] [-Thai M.5_2-] [-PorTFoRiO-] [-WeBBoArD-] [-WeBMaSTeR-]

ธรรมชาติของภาษาและลักษณะของภาษาไทย

ธรรมชาติของภาษา

                คนมีอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงและการฟังเสียงเป็นปกติและเป็นสมาชิกของสังคมหนึ่ง

ต้องพูดภาษาอย่างน้อยหนึ่งภาษา แม้แต่ผู้ที่อวัยวะในการพูดและการฟังบกพร่องก็ยังคิดภาษามือขึ้นเพื่อสื่อสารระหว่างกัน ลองนึกดูว่าตั้งแต่เช้าจนเข้านอน เราใช้ภาษาอะไรบ้างในแต่ละวัน ดูเหมือนแทบจะไม่มีกิจกรรมใดในสังคมที่เราทำได้โดยไม่อาศัยภาษา ผู้ที่เคยมีประสบการณ์ไปอยู่ในสังคมที่พูดภาษาอื่นทำให้ไม่สื่อสารระหว่างกันได้ คงจะทราบดีว่ารู้สึกอึดอัดเพียงใดหากปราศจากภาษา เราอาจใช้การแสดงท่าทางเพื่อสื่อความบางอย่าง เช่น สั่งอาหารหรือถามเส้นทาง แต่กว่าจะเข้าใจกันได้ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนกิจกรรมที่ซับซ้อนกว่านั้น เช่น การบอกเล่าเรื่องราวหรือการแสดงความคิดเห็น ฯลฯ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน

                นักภาษาศาสตร์กล่าวไว้ว่า ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อทำกิจกรรมต่างๆในสังคมนั้นเป็นสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์อื่นๆ และเมื่อพูดถึงธรรมชาติของภาษามนุษย์ประเด็นที่ทุกคนจะต้องกล่าวถึงก็คือ ภาษาประกอบด้วยเสียงและความหมาย มาถึงตรงนี้ผู้ที่เคยได้ยินเรื่องการสื่อสารของสัตว์อาจมีคำถามว่า ภาษามนุษย์ต่างไปจากการสื่อสารของสัตว์อย่างไร

                สัตว์บางชนิดไม่ได้ใช้เสียงแต่ใช้สิ่งอื่นๆในการสื่อสาร เช่น กลิ่น สารเคมีที่ปล่อยออกมาจากร่างกาย สี แสง ท่าทาง ฯลฯ ตัวอย่างเช่น สุนัขตัวผู้ปัสสาวะไว้ตามที่ต่างๆเพื่อบอกอาณาเขตของตน ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่สามารถพบได้ในมนุษย์

ลักษณะของภาษา

                นักภาษาศาสตร์ประมาณว่า ภาษที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันในปัจจุบันมีจำนวนตั้งแต่ ๔,๐๐๐ ถึง๘,๐๐๐ ภาษา ภาษาเหล่านี้มีลักษณะรวมกันพอสรุปได้ดังนี้

                ๑.ผู้พูดภาษาเป็นได้ทั้งผู้ส่งสารและรับสาร

                ๒.ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและความหมายเป็นสิ่งที่ตกลงกันในแต่ละภาษา

                ๓.มนุษย์ใช้ภาษาเพื่อบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาหรือสถานที่อื่นๆได้

                ๔.มนุษย์สามารถสร้างและเข้าใจประโยคที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเพื่อสื่อเรื่องใดก็ได้ตลอดเวลา

                ๕.หน่วยในภาษามนุษย์ประกอบกันเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น

                ๖.มนุษย์ใช้ภาษาพูดไร้สาระหรือพูดสิ่งที่เป็นเท็จได้

                ๗.มนุษย์เรียนรู้ภาษาอื่นๆนอกจากภาษาเมื่อของตนได้

                ๘.มนุษย์ใช้ภาษาในการวิจารณ์ระบบการสื่อสารของตนเอง

จะเห็นได้ว่าภาษามนุษย์มีความพิเศษกว่าระบบการสื่อสารของสัตว์ชนิดอื่นๆและมนุษย์ใช้ภาษาเพื่อทำกิจกรรมแทบจะทุกอย่างในสังคมเนื่องจากภาษาเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งต่อการดำเนินชีวิต เราจึงควรฝึกฝนให้สามารถใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนั้นเราก็น่าจะเข้าใจธรรมชาติของเครื่องมือนี้ด้วย

                ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา

                ๑.บางภาษาไม่มีไวยากรณ์

                "ภาษาไทยไม่มีไวยากรณ์" ขยายความว่า ภาษาที่มีไวยากรณ์เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาละติน ภาษาอังกฤษ หรือภาษาฝรั่งเศส จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ ต่างๆ

เช่นคำนามในภาษาอังกฤษต้องมีการเติม s ท้ายคำเพื่อแสดงพหูพจน์

                แม้ภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเหมือนในภาษาสันสกฤตหรือภาษาอังกฤษ แต่ไม่ใช้ว่าเราจะนำคำใดก็ได้มาเรียงกันโดยไม่มีหลักเกณฑ์

                ๒.บางภาษามีเสียงไพเราะว่าภาษาอื่น

                ตำราภาษาไทยบางเล่มกล่าวว่า "ภาษาไทยมีความไพเราะ เพราะมีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำคล้ายเสียงดนตรี นอกจากนี้ก็มีจังหวะและความคล้องจอง"

                ๓.บางภาษามีความประณีตกว่าภาษาอื่น

                ที่จริงแล้ว การที่บางภาษาใช้ลักษระนามหรือบางภาษาแสดงการจำแนกกลุ่มคำนามด้ววิธีต่างๆก้มิได้หมายความว่าภาษาเหล่านี้มีความประณีตกว่าภาษาอื่นๆการจำแนกกลุ่มคำนามเพียงแต่สะท้อนให้เห็นการมองโลกของผู้พูดภาษานั้นๆ

                ทุกภาษามีไวยากรณ์ ไม่มีภาษาใดพิเศษกว่า ไพเราะกว่า หรือปราณีตกว่าภาษาอื่นเราจึงควรศึกษาภาษาไทยและฝึกฝนจนใช้ภาษาไทยเพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพราะภาษาไทยมีความพิเศษหรือดีเด่นกว่าภาษาอื่นๆ แต่เพราะภาษาไทยเป็นเครื่องมือที่เรใช้ในการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมแทบทุกอย่างในชีวิต


                                                            ลักษณะภาษาไทย

                ภาษานั้นมีหลายลักษณะรวมกัน อย่างไรก็ตามแต่ละภาษาก็มีส่วนที่แตกต่างกันด้วย เช่นภาษาละตินมีไวยากรณ์ที่แตกต่างกัน บางภาษามีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ไวยากรณ์แต่ภาษาไทยไม่มี

               

                ภาษาไทยเป็นภาษาในตระกูลไท

                นักภาษาศาสตร์จัดภาษาที่มีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายไว้ในกลุ่มเดียวกันหรือที่เรียกว่า

" ตระกูลภาษา" ภาษาไทยถูกจัดเก็บไว้ในตระกูลไทเช่นเดียวกับภาษาลาว การจัดเก็บภาษาต่างๆไว้ในตระกูลเดียวกันนั้นต้องอาศัยหลักฐานทางเสียงที่ยืยยันความสัมพันธ์ทางเชื้อสายไม่ใช่ทางภูมิศาสตร์ ภาษาต่างๆที่พูดอยู่บริเวณใกล้เคียงกันอาจไม่มีความสัมพันธ์ทางเชื้อสายก็ได้

                ภาษาไทยเป็นภาษาคาโดด(isolating language)

                นักภาษาศาสตร์จำแนกภาษาในกลุ่มโดยอาศัยเกณฑ์ด้านหน่วยคำด้วยเกณฑ์นี้ทำให้จำแนกภาษาออกได้เป็น ๓ กลุ่ม

                ๑.ภาษาคำโดด (isolating language)ภาษากลุ่มนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหนึ่งหน่วยคำ

                ๒.ภาษาคำติต่อ(agglutinating language) ภาษาในกลุ่มนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์

                ๓.ภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ(fusional language)ภาษาในกลุ่มนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์เช่นเดียวกับภาษาในกลุ่มที่สอง

                ระบบเสียงภาษาไทย

                เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง อาจจำตามลำดับตัวอักษรภาษาไทยก็ได้ หรืออาจจำเป็นกลุ่มตามลักษระการออกเสียงก็ได้

กลุ่มเสียงกักหรือเสียงระเบิด                       /p/   หรือ   /ป/

                                                                    /ph/  หรือ  /พ/

                                                             /b/   หรือ  /บ/

                                                                    /t/     หรือ  /ต/

                                                                    /th/   หรือ   /ท/

                                                                    /d/    หรือ   /ด/

                                                                   /c/      หรือ  /จ/

                                                                   /ch/    หรือ  /ช/

                                                                    /k/  หรือ  /ก/

                                                                    /kh/ หรือ /ค/

                                                                    /f/  หรือ  /ฟ/

                                                                    /s/  หรือ /ส/

                                                                    /h/  หรือ /ฮ/

                         กลุ่มเสียงนาสิก                  /m/ หรือ  /ม/

                                                                    /n/  หรือ  /น/

                                                                   /ng/ หรือ  /ง/

                         กลุ่มเสียงข้างลิ้น                /l/  หรือ  /ล/

                                                                   /r/   หรือ  /ร/

                         กลุ่มเสียงกึ่งสระ                /w/  หรือ /ว/

                                                                   /y/  หรือ  /ย/

เสียงสระ

เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ สระเดี่ยวและสระผสม(เกิดจากเสียงสระเดี่ยว ๒ เสียง)

สระเดี่ยวในภาษาไทยมี ๑๘ เสียงแบ่งเป็นสระเสียงสั้น ๙ เสียง และสระเสียงยาว ๙เสียง

แบ่งเสียงสระตามส่วนและระดับของลิ้นในการออกเสียง

ระดับลิ้น

สระหน้า

สระกลาง

สระหลัง

สูง

/อิ/      /อี/

/อึ/     /อื/

/อุ/       /อู/

กลาง

/เอะ/     /เอ/

/เออะ/     /เออ/

/โอะ/     /โอ/

ต่ำ

/แอะ/     /แอ/

/อะ/     /อา/

/เออะ/     /เออ/

ส่วนสระผสม ๓ เสียงได้แก่

/เอีย/  (/อี/ + /อา/)                /เอือ/(/อื/ + /อา/)              /อัว/(/อู/ + /อา/)

เสียงวรรณยุกต์

ภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ที่รู้จักกันดี เช่นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศษ ภาษาเยอรมัน  ภาษาเหล่านี้ไม่ได้แยกเสียงสูงต่ำในระดับคำเพื่อแยกความหมาย เสียงวรรณยุกต์แบ่งได้ ๒ กลุ่มคือ วรรณยุกต์ระดับ ได้แก่ เสียงสามัญ  เสียงเอก เสียงตรี และวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับได้แก่ เสียงโท และเสียงจัตวา

พยางค์

พยางค์ คือกลุ่มของเสียงหนึ่งที่มีความดังกว่าเสียงอื่นๆ สำหรับในภาษาไทยนั้นพยางค์ต้องประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ จะมีหรือไม่มีเสียงพยัญชนะท้ายก็ได้ และหากพยัญชนะท้ายต้องเป็นเสียงเดียวเสมอ ส่วนเสียงพยัญชนะต้นนั้น อาจมี ๒ เสียงควบกันได้ แต่เสียงพยัญชนะต้นเสียงที่ ๒ ต้องเป็นเสียง /ร/  /ล/หรือ /ว/ เท่านั้น

คำและการสร้างคำในภาษาไทย

นิยามของพยางค์คือ กลุ่มของเสียงที่มีเสียงหนึ่งเด่นกว่าเยสียงอื่น ลักษณะของพยางค์ในภาษาไทยนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วยเสียงพยัญชนะต้น เสียงสละ และเสียงวรรณยุกต์

ภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ไวยากรณ์ แต่ก็มีการประกอบคำที่อยู่ในภาษาเข้าด้วยกันเป็นคำใหม่ด้วยวิธีต่างๆ วิธีการประกอบคำที่ใช้มากในภาษาไทย คือ การประสมคำ การซ้อนคำ และการซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น คำว่า ตา ประสมกับคำว่า แว่น ก็ได้คำประสม แว่นตาคำมูล ส่วนคำที่เกิดจากการประกอบคำเข้าด้วยกันด้วยวิธีการผสมคำ เรียกว่า คำประสม คำที่เกิดจากวิธีซ้อนคำก็คือ คำซ้อน และคำทั่เกิดจากวิธีซ้ำคำก็คือ คำซ้ำ คำทั้ง ๓ ชนิดมีลักษณะที่น่าสนใจดังนี้ เราเรียกคำที่ยังไม่ได้ประกอบเข้ากับคำอื่นว่า

-          คำประสม

ไม่ใช่ความหมายที่มาจากการรวมความหมายของคำต่างๆ ตัวอย่างเช่น โทรศัพท์มือถือ  เป็นความหมายที่ได้มาจากคำทั้งสองรวมกัน คาประสมอาจมาจากคำชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันก็ได้

-          คำซ้อน

คำซ้อนในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ คำซ้อนเพื่อความหมาย  และคำซ้อนเพื่อเสียง บางคนจัดให้คำซ้อนเพื่อความหมายเป็นคำประสมชนิดหนึ่งเพียงแต่คำที่นำมาประกอบกันเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือมีความหมายครงกันข้ามกัน

-          คำซ้ำ

การซ้ำคำเป็นลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของภาษาไทย คือการนำคำเดียวกันมากล่าวซ้ำเพื่อสะดวกในการออกเสียง บอกความเป็นพหูพจน์ หรือต้องการเน้นน้ำหนักความหมายของคำให้หนักแน่นขึ้น หรือคำมีน้ำหนักเบาลง


การเรียงคำเข้าเป็นประโยค

-          ลำดับคำในประโยคบอกหน้าที่คำ

ในภาษาไทยลำดับคำในประโยคเป็นเรื่องสำคัญ คำบางคำทำหน้าที่หลายหน้าที่และภาษาไทยก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ไวยากรณ์

-          ภาษาไทยเป็นภาษาที่เรียงลำดับ ประธาน-กริยา-กรรม

คำนามในประโยคทำหน้าที่ประธานหรือกรรมได้จากตำแหน่งในประโยคค้วย คำนามที่ปรากฎหน้ากริยาทำหน้าที่ประธาน และคำนามที่ปรากฎหลังกริยาสกรรมทำหน้าที่กรรม

-          ประโยคที่ได้เรียงลำดับ ประธาน-กริยา-กรรม

ภาษาไทยมีประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำกริยา ที่นักไวยากรณ์เรียกว่า ประโยคกริยา คำกริยาที่ขึ้นต้นประโยคได้มีหลายคำ

                คำลงท้ายชนิดต่างๆในภาษาไทย

                ผู้ที่วิเคราะห์ภาษาไทยโดยอาศัยไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์จะกล่าวถึงคำกลุ่มหนึ่งที่ไม่ทราบว่าควรจัดไว้ในหมวดใด คำเหล่านี้ได้แก่ ซิ  ละ นะ เถอะ หรอก ค่ะ ครับ จ้ะ จ๋า เป็นต้น ทั้งนี้เพราะคำในภาษาอังกฤษไม่มีคำเหล่านี้ คำเหล่านี้เป็นลักษณะหนึ่งที่น่าสนใจในภาษาไทย สิ ละ นะ เถอะ หรอก นั้ เราใส่ไว้ท้ายประโยคเพื่อบอกเจตนา

                ภาษาไทยเป็นภาษาในตระกูลไท และเป็นภาษาในกลุ่มภาษาคำโดซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญ คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ ระบบเสียงภาษาไทยประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ พยางค์ในภาษาไทยต้องประกอบด้วยเสียงทั้งสามชนิดนี้  ส่วนคำในภาษาไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คำยืมมักเป็นคำพยางค์เดียว การประกอบคำเป็นคำใหม่ใช้วิธีการผสมคำ การซ้อนคำ และการซ้ำคำ การประกอบคำเข้าเป็นประโยคมีลำดับที่ตายตัว คือเรียง ประธาน-กริยา-กรรม เราทราบหน้าที่ของคำในภาษาไทยได้จากตำแหน่งของประโยค