การใช้ภาษาในการสื่อสาร
การใช้ภาษาในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
การสื่อสารของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแยกพิจารณาได้ 2 ด้านคือ
1.พฤติกรรมด้านนอก เป็นพฤติกรรมที่ปรากฏเห็นชัดเจน ได้แก่ การแสดงกิริยาอาการของผู้ส่งสารและผู้รับสาร การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวมทั้งการแสดงออกในรูปแบบอื่นๆ เช่นใช้วัตถุ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น
2.พฤติกรรมด้านใน คือการใช้ความคิด การเกิดความรู้สึก การตั้งเจตนา การอธิษฐาน และปฏิกิริยาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในใจของผู้ส่งสารและรับสาร
การศึกษาให้เข้าใจกระบวนการสื่อสารของมนุษย์จำเป็นต้องเข้าใจเรื่องคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารด้วย
คุณธรรมในการสื่อสาร
คุณธรรม คือ ความดีงามอันมีอยู่ในตัวบุคคล คุณธรรมเกิดจากการปลูกฝัง การได้เห็น ได้ยิน และได้อ่าน ที่สำคัญที่สุดคือ ได้เห็นพฤติกรรมของคนที่เคารพรักเป็นแบบอย่าง
คุณธรรมที่สำคัญยิ่งในการสื่อสาร ได้แก่
1.ความมีสัจจะต่อกัน และไม่ละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน
2.ความรักความเคารพ และความปรารถนาดีต่อกัน
3.ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองพูดหรือกระทำ
มารยาทในการสื่อสาร
มารยาทในการสื่อสารหมายถึง กิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยมของตนในสังคมนั้นๆ
คุณธรรมและมารยาทการสื่อสารในบริบทต่างๆ
การสื่อสารของมนุษย์เมื่อคำนึงถึงผู้ส่งสาร แล้วรับสารแล้วอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
1.การสื่อสารกับตนเอง
2.การสื่อสารระหว่างบุคคล
3.การสื่อสารสาธารณะ
4.การสื่อสารสื่อมวลชน
การสื่อสารกับตนเอง
การสื่อสารกับตนเอง หมายถึง การสื่อสารที่บุคคลคนเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร อาจเกี่ยวกับเรื่องใดก็ได้ เช่น การปลอบใจตนเอง การเตือนคนเอง การวางแผน การแก้ปัญหา เป็นต้น
กระบวนการสื่อสารกับตนเองคล้ายกับกระบวนการคิด แต่กระบวนการคิดไม่มีการโต้ตอบ ไม่มีผู้รับสาร กระบวนการสื่อสารกับตนเอง บางทีเกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ
การสื่อสารระหว่างบุคคล
การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แต่ไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม เรื่องที่สื่อสารเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จดหมายจากพ่อถึงลูก ของศรีเยาวหราล เนห์รู เป็นต้น
การสื่อสารสาธารณะ
การสื่อสารสารธารณะ หมายถึง การสื่อสารที่มีเป้าหมายจะส่งสารไปสู่สาธารณะชน เนื้อหาให้ความรู้ ความเข้าใจถูกต้องเป็นประโยชน์ เป็นความคิดมีคุณค่า เช่น การปาฐกถา การบรรยาย การสอนของครูในชั้นเรียน การอภิปรายโดยเปิดเผย
การสื่อสารมวลชน
การสื่อสารมวลชนมีลักษณะเฉพาะ คือ ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจแผ่กระจายสูง รวดเร็ว และกว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม และสื่อมวลชน ผู้ส่งสารจะต้องเลือกเฉพาะข้อเท็จจริง
การสื่อสารในครอบครัว
การสื่อสารในครอบครัวเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่สุดของมนุษย์
ข้อควรคำนึงที่จะทำให้การสื่อสารในครอบครัวดำเนินไปด้วยดีคือ
1.สมาชิกในครอบครัวต้องคำนึงว่า แต่ละคนอาจมีประสบการณ์มาไม่เหมือนกัน
2.เมื่อเริ่มต้นพูดเรื่องราวที่เป็นกิจธุระบางอย่าง จำเป็นต้องเน้นถ้อยคำบางคำ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันโดยทันที ไม่ก่อให้เกิดความสับสน
3.บุคคลในครอบครัว ย่อมต่างรุ่น ต่างวัย อาจเข้าใจความหมายไม่ตรงกัน จึงต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างสมัยกันควรถือเป็นเรื่องสนุกมิฉะนั้นครอบครัวจะมีเรื่องไม่สงบอันเนื่องมาจากการสื่อสาร
4.การสื่อสารในครอบครัว ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เป็นนิจ
การสื่อสารในโรงเรียน
ข้อควรคำนึงในการสื่อสารในโรงเรียนให้สัมฤทธิผล คือ
1.การสื่อสารในโรงเรียนอาจใช้เวลานาน เพราะเรื่องราวที่สื่อสารมีปริมาณมาก และซับซ้อน ผู้ส่งสารจำเป็นต้องบอกกล่าวตั้งแต่เริ่มต้นว่าดำเนินการอย่างไร ใช้เวลาเพียงใด
2.การสื่อสารในโรงเรียน อาจมีโอกาสที่ต้องโต้แย้งกัน และควรระวังมิให้การโต้แย้งกลายเป็นการทะเลาะด้วยอารมณ์เข้าครอบงำ
3.ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปบางอย่างไม่ควรนำไปเผยแพร่ เพราะจะเกิดผลเสียหายสะท้อนกลับมาได้
4.การแสดงออกในการสื่อสาร คำพูดหรือกิริยาอาการต้องระมัดระวังกิริยาอาการบางอย่างใช้ได้ดีในระหว่างเพื่อนสนิท แต่ในบางกรณีจะทำให้เสียภาพลักษณ์ได้
5.ยอมรับอาวุโสของแต่ละบุคคล ทุกฝ่ายต้องจริงใจกันด้วย
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไป
การสื่อสารในวงสังคมทั่วไปมีข้อควรคำนึงดังนี้
1.คนที่จะสื่อสารในวงสังคมจะต้องเริ่มด้วยการทักทายกันก่อน คนไทยควรทักทายด้วยคำว่า สวัสดี มีคำ ค่ะ,ครับ อยู่ท้ายคำสวัสดีด้วย หรือใช้อวัจนภาษาให้ถูกต้องตามมารยาท คือเข้าไปทำความเคารพ และแสดงกิริยานอบน้อม
2.ไม่แสดงความยินดีจนกลายเป็นประจบประแจง การแสดงความเสียใจควรระวังวาจาไม่พูดพล่อยๆ ควรพูดไปในทางให้กำลังใจม่ให้สะเทือนใจผู้ฟังจึงจะถือว่าเป็นผู้มีมารยาท
4.ในการคบกับชาวต่างประเทศ ควรศึกษามารยาทและประเพณีสำคัญของกันและกน ทำให้เกิดความเข้าใจดีต่อกันมากขึ้น
ภาษากับการปลูกฝังคุณธรรม
คุณธรรมเกิดจากการปลูกฝัง เครื่องมือในการสืบทอดคุณธรรม จะอยู่ในภาษิตต่างๆ ภาษิตในวรรณคดี ภาษิตในชีวิตประจำวัน อยู่ในนิทาน เรื่องเล่า หรือตำนาน เป็นต้น